อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย นับเป็นหนึ่งในผู้นำในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการสร้างสังคมที่มีความสุขและยั่งยืน พชอ. เชียงของได้ออกแบบ “ยุทธศาสตร์ 5 ดวงใจ สายใยคุณภาพชีวิต” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มวัย “ยุทธศาสตร์ 5 ดวงใจ สายใยคุณภาพชีวิต” ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนในทุกกลุ่มวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยทำงาน กลุ่มสตรี วัยสูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม
สถานการณ์สตรีในเชียงของ: ความท้าทายและโอกาส
สตรีในอำเภอเชียงของต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ
โครงการ B.O.L.D. – Policy: สานต่อการพัฒนาเพื่อสตรีในอำเภอเชียงของ
ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union) ผ่านโครงการ “เสริมสร้างองค์กรภาคประชาสังคมและผู้มีบทบาทในระดับทัองถิ่นเพื่อการผลักดันเชิงนโยบาย หรือ Building Organisations & Local actors Dialogue (for) – Policy (B.O.L.D. – Policy)” ได้เริ่มต้นดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและเสริมสร้างบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในอำเภอเชียงของ (พชอ.) โดยมุ่งเน้นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีผ่านชุด “สตรีสุขใจ” ในฐานะกลไกหลักในการสร้างความตระหนักและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสตรีในท้องถิ่น
การถอดบทเรียน: สู่การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี
หนึ่งในกิจกรรมสำคัญภายใต้โครงการ B.O.L.D. – Policy คือ การถอดบทเรียนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเชียงของ ซึ่งชุด “สตรีสุขใจ” ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานด้านสตรีในพื้นที่ โดยกระบวนการถอดบทเรียนนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (best practices) เพื่อนำมาเผยแพร่และต่อยอดการทำงานให้กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในพื้นที่เป้าหมายอื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย
กิจกรรมการถอดบทเรียนครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสะท้อนถึงผลสำเร็จและความท้าทายที่คณะกรรมการ “สตรีสุขใจ” ได้เผชิญ แต่ยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LAs) ในการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการทำงานด้านสตรีในระดับท้องถิ่น
การเตรียมความพร้อมและการขยายผล
การถอดบทเรียนและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้เริ่มจากการเตรียมความพร้อมในปีแรก โดยโครงการมีการวางแผนร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเชียงของ เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์สตรีในท้องถิ่น รวมถึงความท้าทายทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่พวกเธอต้องเผชิญ
การดำเนินงานของ “สตรีสุขใจ” เป็นตัวอย่างสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในประเด็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงการส่งเสริมบทบาทของสตรีในชุมชน
ยุทธศาสตร์ “สตรีสุขใจ” เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการดำเนินโครงการเสริมสร้างองค์กรภาคประชาสังคมและผู้มีบทบาทในระดับทัองถิ่นเพื่อการผลักดันเชิงนโยบาย ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป จะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายที่ส่งเสริมสตรีอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งลดช่องว่างทางกฎหมายและขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการเข้าถึงสิทธิสตรีอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าสตรีจะได้รับการพัฒนาศักยภาพในการเรียกร้องสิทธิและเสนอแนวทางนโยบายต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การกำหนดมาตรการสนับสนุนและพัฒนาระบบการช่วยเหลือสตรีที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ คณะกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเชียงของ ชุด “สตรีสุขใจ” จะพัฒนายุทธศาสตร์ในการทำงานเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงสิทธิ และได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มความสามารถ รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันให้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
คำสงวนสิทธิ์: บทความบนเว็บไซต์นี้ผลิตขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป โดยมูลนิธิศูนย์เพื่อน้องหญิงมีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เนื้อหาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสะท้อนมุมมองของสหภาพยุโรป
________________________________________________________
คลิกที่ลิงค์ด้านล่างนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ B.O.L.D. – Policy project.
‘Want to stay up-to-date? Follow us on Facebook, Instagram and Twitter
Interested in volunteering with CFG? Let us know
Not able to come to join us in Thailand yet? Consider donating
Not able to donate today? Look for opportunities in your community to work against gender-based violence and human trafficking, as these are universal issues